วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Vernier Radiation Monitor



Vernier Radiation Monitor


Description : 

The Vernier Radiation Monitor consists of a Geiger-Mueller tube mounted in a small, rugged, plastic case. It requires no battery, getting power from the data-collection interface. A thin window protected by a metal screen allows alpha radiation to be detected, along with beta and gamma. It can be used to explore radiation statistics, measure the rate of nuclear decay, and monitor radon progeny.


วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องวัดรังสี


เราจะทำงานกับรังสีให้ปลอดภัยได้อย่างไร 

    รังสีมีทั้งประโยชน์และโทษ การใช้ประโยชน์จากรังสีจึงต้องมีความรู้ถึงผลของรังสีต่อร่างกาย มีความเข้าใจเรื่องหน่วยวัดรังสี และการป้องกันอันตรายจากรังสีก่อน อีกทั้งต้องมีวินัยในขณะปฎิบัติงานโดยทำงานตามขั้นตอนการปฎิบัติงานกับรังสีอย่างเคร่งครัด

มีหน่วยงานสากลใด ที่กำหนดมาตรฐานปริมาณรังสี สำหรับคนทำงานกับรังสี และกำหนดไว้อย่างไร

    มีหน่วยงานนานาชาติ ที่ชื่อว่า International Commission on Radiation Protection หรือย่อว่า ICRP เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน และกฏเกณฑ์ในการควบคุมความปลอดภัยในการใช้รังสี
    ตาม ICRP60 กำหนดให้คนที่ทำงานกับรังสี ได้ไม่เกิน 50 mSv/ปี และถ้าเฉลี่ยในระยะเวลา 5 ปีต่อเนื่อง
กัน ต้องไม่เกิน 20 mSv/ปี
    อีกทั้ง กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องของไทย ได้กำหนดปริมาณรังสีสูงสุดที่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีควรได้รับตามมาตรฐานนี้

เราจะทราบได้อย่างไร ว่าที่ทำงานกับรังสี เราได้รับรังสีไปปริมาณ เท่าใดแล้ว 

    เนื่องด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ ไม่สามารถที่จะตรวจสอบได้ว่าบริเวณใด มีรังสีมากน้อยเพียงใด และได้รับปริมาณรังสีในอัตราเท่าใดแล้ว ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีอาจได้รับปริมาณรังสีในอัตราที่เป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับปริมาณรังสีมากเกินมาตรฐานความปลอดภัย ร่างกายจะแสดงอาการออกมาให้เห็น เช่น  คลื่นไส้ เวียนศรีษะ อาเจียน ท้องร่วง เป็นต้น ซึ่งอาจสายเกินแก้
 
เครื่องวัดรังสี มีกี่ชนิด สำหรับคนที่ทำงานกับรังสี

    เครื่องวัดรังสี ที่จำเป็นสำหรับการทำงานทางรังสี มี 3 ชนิด แบ่งตามช่วงเวลาในการทราบผล คือ
         1. ชนิดแสดงผลทันที ได้แก่ เครื่องสำรวจรังสี (Survey Meter)
         2. ชนิดที่บันทึกผลระยะสั้น ได้แก่ Pocket Dosimter
         3. ชนิดที่บันทึกผลระยะยาว ได้แก่ ฟิล์มบันทึกรังสี (Film Badge) และแผ่น TLD ซึ่งต้องอ่านค่าในห้องแล็ปมาตรฐานตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง

คนทำงานกับรังสีส่วนใหญ่ได้ติด  Film Badge หรือแผ่น TLD อยู่กับตัว ในขณะทำงานอยู่แล้ว น่าจะเพียงพอแล้วใช่หรือไม่

    ทั้ง Film Badge และ TLD ใช้บันทึกผลระยะยาว อาจจะ 1 - 2 เดือน กว่าจะนำเข้าห้องแล็ปเพื่อวัดผล ซึ่งอาจจะสายเกินไป หากมีเหตุฉุกเฉิน เกิดมีรังสีรั่วไหลออกมาขณะทำงาน คนทำงานไม่รู้ตัว และยังทำงานต่อไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    แต่หากเรามี เครื่องวัดรังสี ชนิดแสดงผลทันที (Survey Meter) ไว้ตรวจสอบทุกครั้งที่ปฎิบัติงาน เพื่อจะได้รับทราบ เหตุฉุกเฉินหรือเหตุผิดปกติในขณะทำงาน ซึ่งสามารถ ป้องกันอันตรายจากรังสี ได้ ทั้งต่อผู้ที่ทำงานกับรังสี และบุคคลภายนอก

ในทางกฎหมายมีข้อบังคับเรื่องการป้องกันอันตรายในสถานที่ที่มีีการทำงานกับรังสีอย่างไร 

    ตามกฎกระทรวง ปี 2550 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุพลอยได้ หรือพลังงานปรมาณูจากเครื่องกำเนิดรังสี ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานประมาณูเพื่อสันติ ปี 2504 ในข้อ 8 กำหนดให้
“ ผู้ขอใบอนุญาต ต้องดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับรังสี สถานที่จัดเก็บ และสถานที่ประกอบการเกียวกับรังสี เครื่องมือตรวจวัดรังสี และเครื่องใช้อันจำเป็น เพื่อระงับหรือป้องกันอันตรายจากรังสี ซึ่งอาจมีแก่บุคคล ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ”

เครื่องตรวจวัดรังสี มีประโยชน์ใช้งาน อะไรได้บ้าง 

    ตรวจวัดอัตราปริมาณรังสีรั่วไหล
    ตรวจวัดอัตราปริมาณรังสีที่ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีได้รับในขณะทำงาน
    ตรวจวัดรังสีปนเปื้อน หรือตกค้าง
    ค้นหาวัสดุกัมมันตภาพรังสี ที่หล่นหาย
    ตรวจวัดความสามารถป้องกันรังสีของแผ่นกำบังรังสี (Shield)
    ตรวจวัดอัตราปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม ณ.สถานที่ต่างๆ